วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความแตกต่าง

ความแตกต่างของโครงสร้างทางภาษาไทยกับอังกฤษที่มีผลต่อการแปล
โครงสร้างทางภาษาเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการเรียนรู้ภาษาหรือการใช้ภาษา  โครงสร้างเป็นสิ่งบอกเราว่าเราจะคำศัพท์มาร้อยเรียงกันอย่างไรเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจที่เราสื่อสาร ถ้าเราไม่เข้าใจของโครงสร้างทางภาษาเราจะมีความล้มเหลวในการสือสาร เพราะอาจจะทำให้ผู้อื่นไม่เข้าใจได้ในการแปล หลายคนคิดว่าคำศัพท์เป็นปัญหาใหญ่สำหรับการแปล แต่แท้จริงแล้วโครงสร้างทางภาษาเป็นปัญหาที่ลึกซึ้งกว่าคำศัพท์  เพราะบางครั้งถ้าหากเรารู้คำศัพท์แต่ไม่เข้าใจโครงสร้างทางภาษา ไม่เข้าใจความสัมพันธ์ของคำศัพท์อาจจะเกิดความล้มเหลวได้

1.ชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์
ชนิดของคำ(Parts of speech)เป็นสิ่งสำคัญในโครงสร้าง เพราะในการสร้างประโยคเราต้องนำมาเรียงร้อยให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ เพื่อให้มีความหมายถูกต้องตามความต้องการที่จะสื่อสาร นอกจากนั้นเรายังต้องคำนึงถึงความเกียวพันของคำในหลักภาษานั้นๆด้วย
ประเภททางไวยากรณ์ (Grammatical category)หมายถึงลักษณะสำคัญทางไวยากรณ์ของภาษาใดภาษาหนึ่ง ซึ่งมักจะสัมพันธ์กับชนิดของคำประเภททางไวยากรณ์บางประเภทเป็นสิ่งสำคัญในภาษาหนึ่ง แต่อาจจะไม่สำคัญเลยในอีกภาษาหนึ่งก็ได้ ประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญสำหรับการเทียบภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ

1.คำนาม เมื่อเปรียบเทียบคำนามในภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ พบว่าประเภททางไวยากรณ์ที่เป็นลักษณะสำคัญหรือตัวบ่งชี้ในภาษาไทยได้แก่
1.1 บุรุษ (person) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกว่าคำนามหรือคำสรรพนามที่นำมาใช้ในประโยคหมายถึง ผู้พูด ผู้ที่ถูกพูดด้วย หรือผู้ที่ถูกพูดถึงทางภาษาอังกฤษจะมีการแยกอย่างเห็นได้ชัด จะดูได้จากกริยามีการเปลียนแปลง แต่ในภาษาไทยกลับไม่มีการระบุที่ชัดเจน
1.2 พจน์(number) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกจำนวน ว่าเป็นจำนวนเพียงหนึ่ง หรือจำนวนมากกว่าหนึ่ง ในภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้พจน์โดยใช้ตัวกำหนด (determiner)ที่ต่างกัน แต่ในภาษาไทยจะไม่มีตัวบ่งชี้ที่ชัดเจน
1.3การก(case) เป็นการบ่งชี้ว่าคำนามทำหน้าที่เป็นอะไร ในประโยค อย่างเช่น ประธานกรรม สถานที่เป็นต้น ในภาษาอังกฤษการกของคำนามมักแสดงโดยการเรียงคำ ในภาษาไทยไม่มีการเติมคำแต่มีการเรียงคำ
1.4 นามที่นับได้กับนามที่นับไม่ได้ (uncountable and countable noun)ในภาษาไทย คำนามทุกคำนับได้ เพราะเรามีลักษณนามบอกจำนวนของทุกสิ่งได้ แล้วเราสามารถเลือก ใช้ให้เหมาะสมกับคำนามต่างๆ ในภาษาอังกฤษมีการใช้หน่วยบอกปริมาณหรือปริมาตรกับคำนามที่นับไม่ได้ทำให้เป็นหน่วยเหมือนนับได้ แต่ก็ไม่เป็นระบบทั่วไปเหมือนภาษาไทย
1.5 ความชี้เฉพาะ (definiteness) ประเภททางไวยากรณ์อีกประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญในภาษาอังกฤษ แต่ไม่สำคัญในภาษาไทย ได้เเก่การแยกความแตกต่างระหว่างนามชี้เฉพาะกับนามไม่ชี้เฉพาะ

2.คำกริยา คำกริยามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะในประโยคแต่ประโยคคำกริยาเป็นหัวใจของประโยค มีไวยากรณ์เข้ามาเกี่ยวเนื่องเป็นอย่างมาก และสามารถบ่งชี้อะไรได้หลายๆอย่าง
2.1กาล(tense) ในภาษาอังกฤษมีความสำคัญเป็นอย่างมากเพราะเป็นการบ่งชี้ว่าเหตุการณเกิดขึ้นในอดีต ปัจจุบัน หรือว่ากำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตแต่หรับภาษาไทยถือว่าไม่มีความสำคัญ แต่ถ้าหากว่าแปลมาเป็นภาษาไทยก็ระวังเป็นพิเศษ
2.2การณ์ลักษณะ(aspect) หมายถึงลักษณะของการกระทำหรือเหตุการณ์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษมีลักษณะคล้ายๆ กัน การลักษณะต่อเนื่องและดำเนินอยู่
2.3 มาลา (mood) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่ใช้กับคำกริยา มีหน้าที่แสดงว่าผู้พูดมีทัศนคติต่อเหตุการณ์ หรือเรื่องที่พูดอย่างไร มาลาในภาษาอังกฤษแสดงโดยการเปลี่ยนรูปคำกริยาหรือแสดงโดยใช้คำกริยาช่วยที่เรียกว่า model auxiliaries  ในภาษาไทยมาลาแสดงโดยกริยาช่วยหรือคำวิเศษณ์เท่านั้น ไม่ได้แสดงโดยการเปลี่ยนรูปกริยาคำ
2.4 วาจก (voice) เป็นการบ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับกริยา ว่าประธานเป็นผู้ถูกกระทำ หรือเป็นผู้กระทำ ในภาษาอังกฤษเราสามารถสังเกตได้จากกริยาเพราะจะมีการเปลี่ยนรูป แต่ในภาษาไทยจะไม่มีการเปลี่ยนรูปของกริยา
2.5 กริยาแท้กับกริยาไม่แท้ (finite vs. non-finite) คำกริยาในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยมากในเรื่องการแยกกริยาแท้ออกจากกริยาไม่แท้กล่าวคือในหนึ่งประโยคเดียวจะมีกริยาแท้ได้เพียงตัวเดียวเท่านั้น ซึ่งมีรูปแบบที่เห็นชัดจากการที่ต้องลงเครื่องหมายเพื่อบ่งชี้ประเภททางไวยากรณ์ต่างๆ ส่วนกริยาอื่นๆในประโยคต้องแสดงรูปให้เห็นชัดว่าไม่ใช่กริยาแท้ ในภาษาไทย ไม่มีความแตกต่างระหว่างกริยาแท้กับกริยาไม่แท้  กล่าวคือกริยาทุกตัวในประโยคไม่มีการแสดงรูปที่ต่างกัน หรือเครื่องหมายที่เราจะระบุได้ทันทีว่าตัวไหนเป็นกริยาแท้หรือไม่แท้ ในการแปลจากอังกฤษเป็นไทย ผู้แปลอาจจำเป็นต้องขึ้นต้นประโยคใหม่ นั่นหมายความว่าทำกริยาไม่แท้ให้เป็นกริยาแท้ ของประโยคใหม่


3.ชนิดของคำประเภทอื่น

ชนิดของคำประเภทอื่นนอกจากคำนามกับกิริยามีความซับซ้อนน้อยกว่านามและกริยาและไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการแปลมากเท่ากับนามกับกริยา อย่างไรก็ตาม คำที่เป็นปัญหาในตัวศัพท์เอง ได้แก่ คำบุพบท (preposition) ซึ่งผู้แปลต้องหมั่นสังเกตบุพบทที่ใช้ต่างกันในสองภาษาคำ  adjective ในภาษาอังกฤษก็อาจเป็นปัญหาสำหรับคนไทยเพราะต้องใช้ verb to be เมื่อทำหน้าที่เป็นภาคแสดงของประโยค ในภาษาไทยไม่มีโครงสร้างแบบนี้เพราะใช้กริยาทั้งหมดนอกจากนั้น adjective ที่เรียงกันหลายคำเพื่อขยายคำนามที่เป็นคำหลัก เมื่อแปลเป็นไทยอาจมีปัญหาเพราะในภาษาไทยคำขยายอยู่หลังคำหลัก ตรงข้ามกับในภาษาอังกฤษ ทำให้เรียงคำขยายแบบภาษาอังกฤษไม่ได้ คำอีกประเภทที่ไม่ขนานกันระหว่างภาษาไทยกับอังกฤษ ได้แก่คำลงท้าย คำเหล่านี้มีความหมายละเอียดอ่อนและในภาษาอังกฤษไม่มีชนิดของคำประเภทนี้ เมื่อแปลไทย เป็นอังกฤษจะต้อง ใช้คำประเภทอื่นหรือรูปแบบอื่นแทน







2.หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

2.1 หน่วยสร้างนามวลี : ตัวกำหนด(determiner) +นาม (อังกฤษ) vs. นาม (ไทย) นามวลีในภาษาอังกฤษต้องมีตัวกำหนดอยู่หน้านามเสมอ ถ้าคำนามนั้นเป็นนามนับได้และเป็นเอกพจน์(ยกเว้นนามที่เป็นชื่อเฉพาะและสรรพนาม) นอกจากนั้น ตัวกำหนดยังนำหน้านามเพื่อบ่งบอกความชี้เฉพาะของคำนามในภาษาไทยไม่มีตัวกำหนด ในภาษาอังกฤษ มีแต่คำบ่งชี้ เช่น นี้ นั้น โน้น นู้น ซึ่งบ่งบอกความหมายใกล้ไกล็และเฉพาะเจาะจง และเราอาจเรียกคำเหล่านี้ว่า ตัวกำหนด (determiner) ก็ได้แต่ไม่เป็นส่วนที่บังคับในโครงสร้างเหมือนในภาษาอังกฤษ 

2.2 หน่วยสร้างนามวลี : ส่วนขยาย + ส่วนหลัก(อังกฤษ)  vs.ส่วนหลัก+ส่วนขยาย (ไทย)ในหน่วยสร้างนามวลี ภาษาอังกฤษวางส่วนขยายไว้ข้างหน้าส่วนหลัก ส่วนภาษาไทยตรงกันข้ามเวลาแปลจากอังกฤษเป็นไทย ถ้าส่วนขยายไม่ยาวเราเพียงแต่ย้ายที่ส่วนขยายจากหน้าไปหลังก็ใช้ได้แต่หากส่วนขยายยาวหรือซับซ้อน ผู้แปลอาจแปลเป็น relative clause 

2.3 หน่วยสร้างกรรมวาจก (passive constructions)ผู้แปลจึงไม่จำเป็นต้องถ่ายทอดหน่วยสร้างกรรมวาจกภาษาอังกฤษเป็นหน่วยสร้างกรรมวาจกภาษาไทยเสมอไปในภาษาอังกฤษหน่วยสร้างกรรมวาจกมีรูปแบบเด่นชัด และมีแบบเดียว แต่ในภาษาไทยหน่วยสร้างกรรมวาจกมีหลายรูปแบบ เป็นที่น่าสังเกตว่ากริยาเกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึก จะมีรูปตรงกันข้ามในภาษาไทยและอังกฤษ

2.4 หน่วยสร้างประโยคเน้น subject (อังกฤษ) กับประโยคเน้น topic (ไทย)ภาษาไทยได้ชื่อว่าเป็นภาษาเน้น topic (topic-oriented language) ตรงข้ามกับภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาเน้น subject (subject-oriented language)
2.5 หน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย (serial verb construction)หน่วยสร้างในภาษาไทยที่ไม่มีในภาษาอังกฤษและมักเป็นปัญหาในการแปล ได้แก่ หน่วยสร้างกริยาเรียง ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยกริยาตั้งแต่สองคำขึ้นไปเรียงต่อกันโดยไม่มีอะไรคั่นกลางยกเว้นกรรมของกริยาที่มาข้างหน้า


ความสำคัญของการแปล

ความสำคัญของการแปล
ภาษาอังกฤษมีการใช้อย่างกว้างขวางในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสาร การข่นส่งคมนาคม และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมต่างๆ จะเห็นได้ว่าการแปลมีความสำคัญเป็นอย่างมากเพราะจะช่วยในการสื่อความหมายให้เข้าสามารถเข้าใจระหว่างกัน ภาษาอังกฤษมีการเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากเพราะ หน่วยงานต่างๆได้ขยายปริมาณ มีการติดต่อเพิ่มขึ้นระหว่างประเทศ และใช้ในตำราภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาวิจัย
จากการที่ประเทศไทยมีการติดต่อกับนานาประเทศ แต่ละประเทศก็ล้วนมีภาษาที่แตกต่างกัน  จึงต้องใช้ภาษาอังกฤษเพื่อเป็นสื่อกลาง แต่เพื่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันจึงต้องมีความละเอียดอย่างมากในการแปล ดังนั้นผู้แปลต้อง มีความเชียวชาญอย่างมากในการใช้ภาษาเพื่อให้งานแปลออกมาถูกต้องและแม่นยำ

การแปลในประเทศไทย
มีการแปลครั้งแรกในสมัยพระนารายณ์มหาราช โดยส่งพระยาโกศาปานไปเฝ้าพระเจ้าหลุยที่ฝรั่งเศษ  และมีการแปลเอกสารครั้งแรกในสมัยราชการที่5 และมีการสอนภาษาอังกฤษในราชสำนัก
การแปลในประเทศไทยมีบทบาทมากขึ้นเมื่อเข้ามา ดังนั้นเพื่อให้มีความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การแปลยังช่วนสร้างความเข้าใจเป็นอันดีของวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ทำให้เกิดความสันติภาพ อีกอย่างหนึ่งประเทศไทย มีนักธุรกิจเข้ามาลงทุนเป็นจำนวนมาก และนักท่องเที่ยวก็หลั่งไหลเข้ามาเยี่ยมชมประเทศไทย เป็นทางหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาและหารายได้เข้าสู่ประเทศ และด้านการศึกษาก็เป็นอีกทางหนึ่งเช้นกัน เพราะนักศึกษามีการไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ และร่วมไปถึงการแปลหนังสือต่างๆ ดังนั้นการแปลต้องมีความถูกต้อง แม่นยำเข้าใจวัฒนธรรมต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน และเกิดความผิดพลาดในที่สุด

การแปลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้แปลจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและต้องเป็นนักภาษาอีกด้วย กล่าวคือต้องเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน วัฒนธรรมของภาษา และอัพเดตตัวเองอยู่ตลอดเวลาเพราะบางครั้งภาษามีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วมาก และในการแปลต้องคำนึงถึงความคุ้มค่าอีกด้วยกล่าวคือ ให้เกิดผลประโยชน์แก่คนจำนวนมากใช่เพียงเฉพาะกลุ่มเท่านั้น

การสอนแปลในมหาลัย
เป็นการสอนไวยากรณ์และโครงสร้างทางภาษาและหลักการอ่านเพื่อความเข้าใจ ผู้แปลจะต้องเข้าใจเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างดี เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการอ่านและการเขียนในภาษาที่ใช้ในต้นฉบับและภาษาที่ใช้แปล

การแปลคืออะไร
การแปลคือการถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งสู่อีกภาษาหนึ่ง โดยมีใจความถูกต้องสมบูรณ์โดยไม่ดัดแปลงสิ่งใด การแปลยังเป็นทักษะพิเศษเพราะผู้ที่จะแปล จะต้องมีความเชี่ยวชาญทั้งศาสตร์และศิลป์ของภาษา

คุณสมบัติของผู้แปล
-เป็นผู้ที่มีความรู้เป็นอย่างดีในเรื่องของภาษา และสามารถใช้ และสามารถใช้ภาษาสื่อ
  ความหมายกับผู้อื่นให้เข้าใจได้ง่าย
-เป็นผู้รอบรู้ รักการอ่าน เข้าใจความสวยงามของภาษา
-เป็นผู้มีความอดทนและเสียสละ

จุดมุ่งหมายของการสอนแปล
สอนฝึกและผลิตนักแปลที่มีคุณภาพสู่สังคม

จุดประสงค์ของการสอนแปล
-ผลิตนักแปลที่มีคุณภาพให้ออกไปรับใช้สังคมในด้านต่างๆ
-ผู้แปลจะเป็นผู้ที่ต้องอ่านเข้าใจและสามารถจับใจความสำคัญได้ และสามารถเขียนนำเสนอเป็นลายลักษณ์อักษรได้
-ผู้แปลจะต้องเป็นผู้ที่รู้จักศึกษาค้นคว้าและสามารถแก้ปัญหาด้วยตัวเองได้
-ผู้แปลควรมีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนกับนักแปลอาชีพหรือผู้ใช้บริการแปล

วัตถุประสงค์ของการสอนแปล
1.เป้าหมายสำคัญคือผลิตนักแปลที่มีคุณภาพออกไปรับใช้สังคม
2.การสอรชนแปลให้ได้ผล ผู้แปลจะต้องอ่านเข้าใจจับใจความได้ และถ่ายทอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร
3.จัดกิจกรรมหรือกระตุ้นให้ผู้แปลมีประสบการณ์
4.ผู้แปลควรจะมีโอกาสได้พบปะกับนักแปลมืออาชีพ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็

บทบาทของการแปล
การแปลเป็นทักษะที่พิเศษในการสื่อสาร คือ ผู้รับสาร ไม่ได้รับสารจากผู้ส่งสารคนแรกโดยตรง แต่จะรับสารจากผู้แปลอีกทอดหนึ่ง

คุณสมบัติของนักแปล
นักแปลต้องมีใจรักการแปลและการอ่าน  มีความรู้เป็นอย่างดีทั้งสองภาษา และต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการแปล

ลักษณะของงานแปลที่ดี
ควรจะมีเนื้อหาตามต้นฉบับ และใช้ภาษากระชับและชัดเจน และมีการปรับถ้อยคำให้เหมาะสมเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจ

ลักษณะงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ดี
ภาษาไทยต้องมีลักษณะเป็นไปตามธรรมชาติ ใช้ศัพท์เทคนิคเหมาะสมครอบคลุมความหมาย
เน้นความชัดเจนของภาษาเป็นสำคัญ มีการเรียบเรียงและเขียนใหม่ให้สละสลวย

การให้ความหมายในการแปล
การส่งสารโดยวิธีการแปลเป็นภาษาแม่ของตน การให้ความหมายมี 2 ประการ คือ
1.การแปลที่ใช้รูปประโยคต่างกันแต่มีความหมายอย่างเดียวกัน
2.การตีความหมายจากบริบทของข้อความต่างๆ อาจจะดูจากสิ่งของ รูปภาพการกระทำตลอดจยสถานภาพต่างๆ

การวิเคราะห์ความหมาย
สิ่งที่ต้องนำมาใช้ในการวิเคราะห์ความหมายคือ 
1.องค์ประกอบของความหมาย 
2.ความหมายและรูปแบบ
3.ประเภทของความหมาย

การเลือกบทแปล
เลือกบทแปลตามวัตถุประสงค์ของการสอนแปล และมีความหลากหลาย โดยให้ผู้แปลมีโอกาสได้ตระหนักถึงความบกพร่องของตนเอง
และให้ผู้เรียนได้ความรู้ทั้งด้านทักษะทางภาษาและเนื้อหาไปด้วย

เรื่องที่จะแปล
-เป็นเรื่องที่เลือกเฟ้น
-เรียบเรียงให้ถูกต้องทันกับสากล ตลอดจนละเมียดละไมลึกซึ้งในภาษา
-ใช้ภาษาที่แปลอย่างถูกต้อง