ความแตกต่างของโครงสร้างทางภาษาไทยกับอังกฤษที่มีผลต่อการแปล
โครงสร้างทางภาษาเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการเรียนรู้ภาษาหรือการใช้ภาษา โครงสร้างเป็นสิ่งบอกเราว่าเราจะคำศัพท์มาร้อยเรียงกันอย่างไรเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจที่เราสื่อสาร ถ้าเราไม่เข้าใจของโครงสร้างทางภาษาเราจะมีความล้มเหลวในการสือสาร เพราะอาจจะทำให้ผู้อื่นไม่เข้าใจได้ในการแปล หลายคนคิดว่าคำศัพท์เป็นปัญหาใหญ่สำหรับการแปล แต่แท้จริงแล้วโครงสร้างทางภาษาเป็นปัญหาที่ลึกซึ้งกว่าคำศัพท์ เพราะบางครั้งถ้าหากเรารู้คำศัพท์แต่ไม่เข้าใจโครงสร้างทางภาษา ไม่เข้าใจความสัมพันธ์ของคำศัพท์อาจจะเกิดความล้มเหลวได้
1.ชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์
ชนิดของคำ(Parts of speech)เป็นสิ่งสำคัญในโครงสร้าง เพราะในการสร้างประโยคเราต้องนำมาเรียงร้อยให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ เพื่อให้มีความหมายถูกต้องตามความต้องการที่จะสื่อสาร นอกจากนั้นเรายังต้องคำนึงถึงความเกียวพันของคำในหลักภาษานั้นๆด้วย
ประเภททางไวยากรณ์ (Grammatical category)หมายถึงลักษณะสำคัญทางไวยากรณ์ของภาษาใดภาษาหนึ่ง ซึ่งมักจะสัมพันธ์กับชนิดของคำประเภททางไวยากรณ์บางประเภทเป็นสิ่งสำคัญในภาษาหนึ่ง แต่อาจจะไม่สำคัญเลยในอีกภาษาหนึ่งก็ได้ ประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญสำหรับการเทียบภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ
1.คำนาม เมื่อเปรียบเทียบคำนามในภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ พบว่าประเภททางไวยากรณ์ที่เป็นลักษณะสำคัญหรือตัวบ่งชี้ในภาษาไทยได้แก่
1.1 บุรุษ (person) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกว่าคำนามหรือคำสรรพนามที่นำมาใช้ในประโยคหมายถึง ผู้พูด ผู้ที่ถูกพูดด้วย หรือผู้ที่ถูกพูดถึงทางภาษาอังกฤษจะมีการแยกอย่างเห็นได้ชัด จะดูได้จากกริยามีการเปลียนแปลง แต่ในภาษาไทยกลับไม่มีการระบุที่ชัดเจน
1.2 พจน์(number) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกจำนวน ว่าเป็นจำนวนเพียงหนึ่ง หรือจำนวนมากกว่าหนึ่ง ในภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้พจน์โดยใช้ตัวกำหนด (determiner)ที่ต่างกัน แต่ในภาษาไทยจะไม่มีตัวบ่งชี้ที่ชัดเจน
1.3การก(case) เป็นการบ่งชี้ว่าคำนามทำหน้าที่เป็นอะไร ในประโยค อย่างเช่น ประธานกรรม สถานที่เป็นต้น ในภาษาอังกฤษการกของคำนามมักแสดงโดยการเรียงคำ ในภาษาไทยไม่มีการเติมคำแต่มีการเรียงคำ
1.4 นามที่นับได้กับนามที่นับไม่ได้ (uncountable and countable noun)ในภาษาไทย คำนามทุกคำนับได้ เพราะเรามีลักษณนามบอกจำนวนของทุกสิ่งได้ แล้วเราสามารถเลือก ใช้ให้เหมาะสมกับคำนามต่างๆ ในภาษาอังกฤษมีการใช้หน่วยบอกปริมาณหรือปริมาตรกับคำนามที่นับไม่ได้ทำให้เป็นหน่วยเหมือนนับได้ แต่ก็ไม่เป็นระบบทั่วไปเหมือนภาษาไทย
1.5 ความชี้เฉพาะ (definiteness) ประเภททางไวยากรณ์อีกประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญในภาษาอังกฤษ แต่ไม่สำคัญในภาษาไทย ได้เเก่การแยกความแตกต่างระหว่างนามชี้เฉพาะกับนามไม่ชี้เฉพาะ
2.คำกริยา คำกริยามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะในประโยคแต่ประโยคคำกริยาเป็นหัวใจของประโยค มีไวยากรณ์เข้ามาเกี่ยวเนื่องเป็นอย่างมาก และสามารถบ่งชี้อะไรได้หลายๆอย่าง
2.1กาล(tense) ในภาษาอังกฤษมีความสำคัญเป็นอย่างมากเพราะเป็นการบ่งชี้ว่าเหตุการณเกิดขึ้นในอดีต ปัจจุบัน หรือว่ากำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตแต่หรับภาษาไทยถือว่าไม่มีความสำคัญ แต่ถ้าหากว่าแปลมาเป็นภาษาไทยก็ระวังเป็นพิเศษ
2.2การณ์ลักษณะ(aspect) หมายถึงลักษณะของการกระทำหรือเหตุการณ์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษมีลักษณะคล้ายๆ กัน การลักษณะต่อเนื่องและดำเนินอยู่
2.3 มาลา (mood) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่ใช้กับคำกริยา มีหน้าที่แสดงว่าผู้พูดมีทัศนคติต่อเหตุการณ์ หรือเรื่องที่พูดอย่างไร มาลาในภาษาอังกฤษแสดงโดยการเปลี่ยนรูปคำกริยาหรือแสดงโดยใช้คำกริยาช่วยที่เรียกว่า model auxiliaries ในภาษาไทยมาลาแสดงโดยกริยาช่วยหรือคำวิเศษณ์เท่านั้น ไม่ได้แสดงโดยการเปลี่ยนรูปกริยาคำ
2.4 วาจก (voice) เป็นการบ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับกริยา ว่าประธานเป็นผู้ถูกกระทำ หรือเป็นผู้กระทำ ในภาษาอังกฤษเราสามารถสังเกตได้จากกริยาเพราะจะมีการเปลี่ยนรูป แต่ในภาษาไทยจะไม่มีการเปลี่ยนรูปของกริยา
2.5 กริยาแท้กับกริยาไม่แท้ (finite vs. non-finite) คำกริยาในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยมากในเรื่องการแยกกริยาแท้ออกจากกริยาไม่แท้กล่าวคือในหนึ่งประโยคเดียวจะมีกริยาแท้ได้เพียงตัวเดียวเท่านั้น ซึ่งมีรูปแบบที่เห็นชัดจากการที่ต้องลงเครื่องหมายเพื่อบ่งชี้ประเภททางไวยากรณ์ต่างๆ ส่วนกริยาอื่นๆในประโยคต้องแสดงรูปให้เห็นชัดว่าไม่ใช่กริยาแท้ ในภาษาไทย ไม่มีความแตกต่างระหว่างกริยาแท้กับกริยาไม่แท้ กล่าวคือกริยาทุกตัวในประโยคไม่มีการแสดงรูปที่ต่างกัน หรือเครื่องหมายที่เราจะระบุได้ทันทีว่าตัวไหนเป็นกริยาแท้หรือไม่แท้ ในการแปลจากอังกฤษเป็นไทย ผู้แปลอาจจำเป็นต้องขึ้นต้นประโยคใหม่ นั่นหมายความว่าทำกริยาไม่แท้ให้เป็นกริยาแท้ ของประโยคใหม่
3.ชนิดของคำประเภทอื่น
ชนิดของคำประเภทอื่นนอกจากคำนามกับกิริยามีความซับซ้อนน้อยกว่านามและกริยาและไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการแปลมากเท่ากับนามกับกริยา อย่างไรก็ตาม คำที่เป็นปัญหาในตัวศัพท์เอง ได้แก่ คำบุพบท (preposition) ซึ่งผู้แปลต้องหมั่นสังเกตบุพบทที่ใช้ต่างกันในสองภาษาคำ adjective ในภาษาอังกฤษก็อาจเป็นปัญหาสำหรับคนไทยเพราะต้องใช้ verb to be เมื่อทำหน้าที่เป็นภาคแสดงของประโยค ในภาษาไทยไม่มีโครงสร้างแบบนี้เพราะใช้กริยาทั้งหมดนอกจากนั้น adjective ที่เรียงกันหลายคำเพื่อขยายคำนามที่เป็นคำหลัก เมื่อแปลเป็นไทยอาจมีปัญหาเพราะในภาษาไทยคำขยายอยู่หลังคำหลัก ตรงข้ามกับในภาษาอังกฤษ ทำให้เรียงคำขยายแบบภาษาอังกฤษไม่ได้ คำอีกประเภทที่ไม่ขนานกันระหว่างภาษาไทยกับอังกฤษ ได้แก่คำลงท้าย คำเหล่านี้มีความหมายละเอียดอ่อนและในภาษาอังกฤษไม่มีชนิดของคำประเภทนี้ เมื่อแปลไทย เป็นอังกฤษจะต้อง ใช้คำประเภทอื่นหรือรูปแบบอื่นแทน
2.หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2.1 หน่วยสร้างนามวลี : ตัวกำหนด(determiner) +นาม (อังกฤษ) vs. นาม (ไทย) นามวลีในภาษาอังกฤษต้องมีตัวกำหนดอยู่หน้านามเสมอ ถ้าคำนามนั้นเป็นนามนับได้และเป็นเอกพจน์(ยกเว้นนามที่เป็นชื่อเฉพาะและสรรพนาม) นอกจากนั้น ตัวกำหนดยังนำหน้านามเพื่อบ่งบอกความชี้เฉพาะของคำนามในภาษาไทยไม่มีตัวกำหนด ในภาษาอังกฤษ มีแต่คำบ่งชี้ เช่น นี้ นั้น โน้น นู้น ซึ่งบ่งบอกความหมายใกล้ไกล็และเฉพาะเจาะจง และเราอาจเรียกคำเหล่านี้ว่า ตัวกำหนด (determiner) ก็ได้แต่ไม่เป็นส่วนที่บังคับในโครงสร้างเหมือนในภาษาอังกฤษ
2.2 หน่วยสร้างนามวลี : ส่วนขยาย + ส่วนหลัก(อังกฤษ) vs.ส่วนหลัก+ส่วนขยาย (ไทย)ในหน่วยสร้างนามวลี ภาษาอังกฤษวางส่วนขยายไว้ข้างหน้าส่วนหลัก ส่วนภาษาไทยตรงกันข้ามเวลาแปลจากอังกฤษเป็นไทย ถ้าส่วนขยายไม่ยาวเราเพียงแต่ย้ายที่ส่วนขยายจากหน้าไปหลังก็ใช้ได้แต่หากส่วนขยายยาวหรือซับซ้อน ผู้แปลอาจแปลเป็น relative clause
2.3 หน่วยสร้างกรรมวาจก (passive constructions)ผู้แปลจึงไม่จำเป็นต้องถ่ายทอดหน่วยสร้างกรรมวาจกภาษาอังกฤษเป็นหน่วยสร้างกรรมวาจกภาษาไทยเสมอไปในภาษาอังกฤษหน่วยสร้างกรรมวาจกมีรูปแบบเด่นชัด และมีแบบเดียว แต่ในภาษาไทยหน่วยสร้างกรรมวาจกมีหลายรูปแบบ เป็นที่น่าสังเกตว่ากริยาเกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึก จะมีรูปตรงกันข้ามในภาษาไทยและอังกฤษ
2.4 หน่วยสร้างประโยคเน้น subject (อังกฤษ) กับประโยคเน้น topic (ไทย)ภาษาไทยได้ชื่อว่าเป็นภาษาเน้น topic (topic-oriented language) ตรงข้ามกับภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาเน้น subject (subject-oriented language)
2.5 หน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย (serial verb construction)หน่วยสร้างในภาษาไทยที่ไม่มีในภาษาอังกฤษและมักเป็นปัญหาในการแปล ได้แก่ หน่วยสร้างกริยาเรียง ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยกริยาตั้งแต่สองคำขึ้นไปเรียงต่อกันโดยไม่มีอะไรคั่นกลางยกเว้นกรรมของกริยาที่มาข้างหน้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น