วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log 3 (นอกห้องเรียน)

Adjective clause หรือแปลเป็นภาษาไทยได้ว่าคุณานุประโยคหรืออนุประโยคที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนคุณศัพท์(adjective) ขยายนามหรือแสดงลักษณะของคำนามหรือสรรพนาม ปกติแล้ว Adjective clause จะเชื่อมด้วยพันธสรรพนาม (relative pronoun) โดยที่ประพันธ์สรรพนามนั้นจะเชื่อมคุณานุประโยคดังกล่าวกับคำนามหรือคำสรรพนามที่มันมาขยาย
Adjective clause จะมี relative pronoun หรือ relative adverb นำมาข้างหน้า ดังนั้น adjective clause จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งก็คือ relative clause
1. Relative Pronoun
  who, whom, whose ใช้แทนคน
  which ใช้แทนคนสัตว์และสิ่งของ
  that ใช้แทนได้ทั้งคนสัตว์สิ่งของ
2.Relative Adverb
  where ใช้แทนสถานที่
  when ใช้แทนเวลา
  why ใช้แทนเหตุผล
ประเภทของ adjective clause สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
1. Definition clause ใช้ชี้เฉพาะคำนามที่มาข้างหน้า ว่าเป็นคนไหน สิ่งไหน อันไหน จะไม่ใช้เครื่องหมายใดๆ คั่นระหว่างคำนามกับ adjective clause ที่ตามมา ตัวอย่างเช่น
A letter which was in a pink envelope was one seeking for adonation to conserve wilglife.
2.Non-defining clause ใช้ในการให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำนามที่มาข้างหน้า โดยมีเครื่องหมาย comma (,) ระหว่างคำนามกับ adjective clause ที่ตามมา ตัวอย่างเช่น
His house which is pn Sukhumvit Road, is a two-story house
3. Sentential relative clause ใช้ในการให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับทั้งข้อความ ไม่ใช่เฉพาะคำนามที่มาข้างหน้า และจะใช้ which นำหน้าเท่านั้น โดยมีเครืองหมาย comma(,) คั่นจาก main clauseที่มาข้างหน้า 
ตัวอย่างเช่น
Jane give him a smile, which surprised him a great deal.
"which surprised him a great deal เป็น adjective clause ขยายความใน main clause คือ Jane give him a smile ประโยคนี้หมายความว่า เจนยิ้มให้เขาซึ่งทำให้เขาแปลกใจมาก
การละคำนำหน้าใน adjective clause 
1. เมื่อทำหน้าที่เป็น direct object ใน defining clause 
ตัวอย่างเช่น 
The dress (which) I like is now on sale. "which" ทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา "like" ใน adjective clause ที่มาขยายคำนาม the dress is on sale ประโยคนี้หมายความว่า "ชุด(ที่) ฉันชอบตอนนี้อยู่ในช่วงลดราคา"
2.เมื่อทำหน้าที่เป็น object of a preposition ใน defining clause
The person with whom I talked about my study problem is a new director of the school.
"whom" ทำหน้าที่ เป็นกรรมของบุพบท "with" ใน preposition clause ที่มาขยายคำนาม the person ใน main clause คือ "the person is a new director of the school. ประโยคนี้หมายความว่า "บุคคล(ที่)ฉันคุยเรื่องปัญหาการเรียนด้วยคือผู้อำนวยการโรงเรียนคนใหม่" ได้ละคำว่า "whom" ได้ โดยเมื่อละ whom แล้ว บุพบท with ต้องอยู่ท้าย adjective clause ดังนี้
"The person (whom) I talked about my study problem with is a new director of the school"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น